ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการแพทย์ และคุณภาพชีวิตของความเป็นอยู่ของประชากรโลกพัฒนาสูงขึ้น ส่งผลให้ประชากรโลกมีอายุที่ยืนยาวมากยิ่งขึ้น ถ้าหากสมมุติว่าอายุคาดหมายเฉลี่ยอยู่ที่ 80 ปี ก็หมายความว่าจะมีชีวิตอยู่ภายหลังเกษียณอายุอีก 20 ถึง 25 ปี เนื่องจากคนโดยทั่วไปที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน หรือรับราชการส่วนใหญ่มักจะเกษียณอายุเมื่อมีอายุอยู่ในช่วง 55 – 60 ปี และเมื่อเกษียณอายุรายได้ที่เคยได้รับในช่วงก่อนเกษียณอายุก็จะต้องสูญเสียไปด้วย ดังนั้น จะทำอย่างไรที่จะรักษาระดับคุณภาพชีวิต เมื่อต้องสูญเสียรายได้ในช่วงหลังเกษียณ ให้เทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกษียณ ซึ่งแนวทางหนึ่งที่จะสามารถช่วยได้เป็นอย่างดีก็คือ การเตรียมความพร้อม และการวางแผนเพื่อวัยเกษียณที่ดี ในช่วงก่อนเกษียณนั่นเอง 1. ความหมายและความสำคัญของการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ ก่อนที่จะเริ่มวางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณ มีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจถึงความหมาย และความสำคัญของการวางแผนเพื่อวัยเกษียณอย่างถ่องแท้เสียก่อน 1.1 ความหมายของการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ การเกษียณอายุหมายถึง การที่บุคคลถอนตัวออกจากงานประจำที่ทำอยู่ เมื่อมีอายุครบในระหว่าง 55-60 ปี โดยช่วงอายุที่จะเกษียณนั้นขึ้นอยู่กับอาชีพ และระเบียบข้อบังคับของแต่ละหน่วยงาน บางแห่งยังยอมรับบุคคลที่มีอายุเกินกว่า 60 ปีทำงานต่อไปได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของบุคคลนั้น ๆ นอกจากนี้สำหรับบางคนอาจเลือกที่จะเกษียณอายุก่อนช่วงเวลาที่กำหนด ขึ้นอยู่กับเหตุผลและความพร้อมของแต่ละบุคคล การเกษียณอายุย่อมหมายถึงการสิ้นสุดลงของรายได้ประจำ ที่เคยได้รับจากการทำงาน ในขณะที่รายจ่ายยังคงดำเนินต่อไป และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลจากค่ารักษาพยาบาล ในการดูแลรักษาสุขภาพที่ทรุดโทรม […]
Author Archives: onmoneymanagement
อัตราคิดลด (discount rate) คือ อัตราที่ใช้ในการแปลงมูลค่าในอนาคต ให้กลับมาเป็นมูลค่าในปัจจุบัน ซึ่งช่วยให้สามารถเปรียบเทียบมูลค่าสองมูลค่า ที่อยู่ในช่วงเวลาต่างกันได้ง่ายขึ้น โดยอัตราคิดลดยังสามารถสะท้อนพฤติกรรมความอดทนของบุคคลได้อีกด้วย ซึ่งมีนัยยะต่อการเปรียบเทียบทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนต่าง ๆ ในเวลาที่แตกต่างกันด้วย ตัวอย่างเช่น ในการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์ (cost-benefit analysis) หรือการประเมินความคุ้มค่าของนโยบายสาธารณะ บทความนี้แสดงให้เห็นว่า อัตราคิดลดส่วนบุคคลนั้น จะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดอย่างมีนัยสำคัญ และยังเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วย ตามมาอ่านไปด้วยกันได้เลยครับ อัตราคิดลดคืออะไร หากว่าจำเป็นจะต้องตัดสินใจอะไรสักอย่างหนึ่ง ที่มีผลกระทบกับชีวิตไปในระยะยาว เช่น การตัดสินใจออมเงินเพื่ออนาคต การตัดสินใจบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ หรือการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น จะต้องเปรียบเทียบระหว่างประโยชน์ หรือความสุขที่จะได้รับในอนาคต และประโยชน์หรือความสุขที่พึงจะได้ในปัจจุบัน โดยจะเลือกทางเลือกที่ให้ประโยชน์สูงกว่า ฉะนั้น การเลือกที่จะออมเงินเพื่อผลตอบแทนในอนาคตมีความจำเป็นที่สูงกว่าประโยชน์จากการบริโภคในปัจจุบัน หรือเลือกการจะรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพื่อการมีสุขภาพแข็งแรงในอนาคต ซึ่งมีมูลค่ามากกว่าการบริโภคอาหารหวานหรือไขมันสูงที่มีรสชาติดี อัตราคิดลด (discount rate) คืออัตราที่ใช้ในการแปลงมูลค่าในอนาคตมาเป็นมูลค่าในปัจจุบัน ซึ่งสามารถช่วยให้สามารถเปรียบเทียบมูลค่าของสองมูลค่า ที่อยู่ในช่วงเวลาต่างกันได้ง่ายขึ้น จะเห็นว่าอัตราคิดลดสามารถสะท้อนพฤติกรรมความอดทนของบุคคลได้ หากคนใดมีอัตราคิดลดที่สูง ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความอดทนที่ต่ำมักจะเลือกการบริโภคในปัจจุบัน และยิ่งจำเป็นต้องใช้สิ่งจูงใจในอนาคต ซึ่งมีมูลค่าสูงขึ้นเพื่อจูงใจให้เลือกชะลอการบริโภคในปัจจุบัน เพื่อรับผลประโยชน์ที่จะได้ในอนาคต ในทางตรงกันข้าม คนที่มีอัตราคิดลดยิ่งต่ำก็ยิ่งสะท้อนถึงความอดทนที่สูง คนนี้สามารถชะลอการบริโภคในปัจจุบัน แล้วเลือกรับประโยชน์ในอนาคต ด้วยสิ่งจูงใจในอนาคตที่มีมูลค่าต่ำกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราคิดลดมีอัตราคิดลดสูง […]