Category Archives: พื้นฐานการวางแผนการเงิน

มูลค่าเงินตามเวลา หลักคิดที่ช่วยตัดสินใจในการลงทุนง่ายขึ้น

การเปรียบเทียบเงินในเวลาต่างกัน

ในการวางแผนทางการเงิน จะต้องมีการนำต้นทุนค่าเสียโอกาสเข้ามาพิจารณาด้วยเสมอ แนวคิดมูลค่าเงินตามเวลาเป็นแนวคิดที่อธิบายถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสของเงินทุนที่ถูกนำมาใช้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เงินในเวลาแตกต่างกัน จะมีมูลค่าที่ไม่เท่ากัน อันเนื่องมาจากเงินที่ได้มาก่อนนั้น สามารถที่จะนำไปลงทุนสร้างผลตอบแทนได้ก่อน ทำให้เงินจำนวนเดียวกันในเวลาที่ต่างกันนั้น มีอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยที่แตกต่างกันไป ดังนั้น การเปรียบเทียบเงินในเวลาต่างกัน จึงไม่สามารถทำได้โดยตรง แต่จะต้องมีการเปลี่ยนเงินแต่ละจำนวน ที่จะนำมาเปรียบเทียบกันให้เป็นเงินในเวลาเดียวกันก่อน อนุมานได้กับการบวกลบเลขที่มีฐานต่างกัน ไม่สามารถที่จะบวกลบกันได้โดยตรง จะต้องมีการเปลี่ยนเลขที่มีฐานต่างกันนั้น ให้เป็นฐานเดียวกันก่อน จึงจะสามารถนำมาบวกลบกันได้ แนวคิดมูลค่าเงินตามเวลานั้น ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการเปรียบเทียบต้นทุนในการซื้อสินค้าหรือบริการ ยังมีการตัดสินใจระหว่างการซื้อและการเช่าซื้อ แต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการตัดสินใจในทางเลือกการลงทุนต่าง ๆ อีกด้วย แนวคิดนี้จะมีความสำคัญอย่างมาก สำหรับการตัดสินใจต่าง ๆ ทางการเงิน ที่ต้องเกี่ยวข้องกับกระแสเงินสด ที่จ่ายหรือรับหลาย ๆ จำนวน ในเวลาที่ต่างกัน ในการตัดสินใจทางด้านการเงินส่วนบุคคล มีความจำเป็นในการประยุกต์ใช้แนวคิดมูลค่าเงินตามเวลา ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเป้าหมายทางการเงินที่กำหนดไว้ ซึ่งจะทำให้สามารถทราบว่า จะต้องออมเงินในแต่ละงวดเท่าใด เพื่อให้ได้เงินจำนวนหนึ่งที่ต้องการในอนาคต นอกจากนั้นยังสามารถนำแนวคิดดังกล่าวนี้ ไปประยุกต์ในการคำนวณจำนวนเงินที่จะต้องชำระคืนเงินกู้ ทั้งในส่วนของการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย ตามอัตราที่กำหนดไว้ให้แก่เจ้าหนี้ ซึ่งถ้าหากการชำระคืนในแต่ละงวดมีจำนวนชำระคืนเท่า ๆ กัน ภายในระยะเวลาที่กำหนด จะเรียกการผ่อนชำระคืนเงินกู้นี้ว่า loan amortization ทั้งนี้เงินที่ชำระคืนทั้งหมดทุกงวดรวมกัน จะมีมูลค่าปัจจุบันเท่ากับจำนวนเงินที่ลูกหนี้ได้กู้ยืมมาใช้ในปัจจุบัน การประยุกต์ใช้แนวคิดดังกล่าว ยังมีประโยชน์ในการเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน […]

เครื่องมือทางการเงินเพื่อบริหารสภาพคล่องที่ควรรู้

เครื่องมือทางการเงินที่ควรรู้ไว้

ในการดำเนินชีวิตประจำวัน จะมีค่าใช้จ่ายอื่นเกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งในส่วนของค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภค และค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่น ๆ แต่ในบางครั้งก็อาจต้องใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่ได้วางแผน หรือคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าได้ เช่น การเจ็บไข้ได้ป่วยกะทันหัน การเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น ในส่วนของรายรับ โดยส่วนใหญ่ทั่วไปจะเกิดขึ้นเฉพาะช่วงปลายเดือนเท่านั้น ยกเว้นในบางครั้ง อาจมีรายได้บางส่วนซึ่งเป็นรายได้ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน เช่น รายได้จากรางวัลหรือการมีโชคต่าง ๆ เป็นต้น จะเห็นว่ากระแสเงินสดดังกล่าวเกิดขึ้นได้ทั้งที่ทราบและไม่ทราบ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาการขาดสภาพคล่อง และจำเป็นที่จะต้องอาศัยกระบวนการและวิธีการ ในการบริหารเงินสดเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อช่วยทำให้ไม่เกิดปัญหาสภาพคล่อง และในขณะเดียวกันก็ไม่ต้องมีการสำรองเงินสดไว้เกินความจำเป็น อย่างไรก็ตาม สำหรับใครที่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการซื้อสินค้าหรือบริการใด ๆ อาจจะใช้การเช่าเป็นเครื่องมือทางการเงิน เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ ทดแทนการซื้อโดยการใช้สินเชื่อ การเช่าจึงอาจจัดได้ว่าเป็นเครื่องมือ ที่สามารถจัดหาเงินทุนได้ทางอ้อมแทนการขอใช้สินเชื่อได้อีกด้วย ในบทความนี้จะมาชวนท่านผู้อ่าน มาดูตราสารทางการเงินที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารสภาพคล่อง ทั้งในส่วนของการจัดการเงินสด (cash management) และการจัดการสินเชื่อ (credit management) ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงกระบวนการจัดกลุ่มใดเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสีย ระหว่างการซื้อหรือการเช่า (buying or leasing) ในฐานะเป็นแหล่งที่มาของสภาพคล่องส่วนที่ขาด ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับกระบวนการวางแผนการเงินส่วนบุคคลด้วยเช่นกัน พร้อมแล้วมาตามอ่านไปด้วยกันเลยครับ การบริหารเงินสด ในแต่ละวันถูกคนแต่ละคนมีการถือครองเงินสดเป็นจำนวนที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะทางสังคมและฐานะทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากการที่บุคคลแต่ละคน จะมีรายรับและรายจ่ายในรูปของเงินสดในแต่ละวัน […]