การคิดทบต้นเพื่อหามูลค่าเงินในอนาคต

ในเรื่องของการตัดสินใจทางการเงิน เรื่องของการคิดทบต้นนับว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อจะได้ทำความรู้จักกับดอกเบี้ยทบต้น ตัวอย่างเช่น หากฝากเงินหรือออมเงินกับธนาคารมานานแล้ว อาจเกิดความสงสัยว่าดอกเบี้ยที่ได้รับจากการฝากนั้นมาจากที่ไหน และมีการคำนวณเป็นแบบใด เนื่องจากวิธีการคิดดอกเบี้ยนั้น มีขั้นตอนที่ซับซ้อนสำหรับคนทั่วไป และเงินฝากส่วนใหญ่ มักใช้วิธีการทบต้นในการคิดดอกเบี้ย ทำให้หลาย ๆ คนไม่รู้ว่าต้องคำนวณอย่างไร ดังนั้นในบทความนี้เรามาเจาะลึกลงไปด้วยกันในเรื่องของการคิดทบต้นเพื่อหามูลค่าเงินในอนาคต ซึ่งจะทำให้รู้ว่าเมื่อครบกำหนดการฝากเงิน จะมีเงินสะสมทั้งหมดเท่าไหร่ ถ้าหากพร้อมกันแล้วเรามาเริ่มต้นไปพร้อม ๆ กันเลยครับ

หลายคนอาจเคยได้ยินได้ฟังกันมาแล้วว่า ผลตอบแทนทบต้นหรือดอกเบี้ยทบต้น กันมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่อาจจะยังไม่รู้ว่าพลังของมันมหัศจรรย์มากขนาดไหน ซึ่งพลังของมันแม้แต่ไอน์สไตล์ก็ยังยกย่องว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์อันดับที่ 8 ของโลกเลยทีเดียว ทั้งนี้เพราะทุกช่วงชีวิตของทุกคนต้องมีการตัดสินใจทางการเงินด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งไม่ว่าการฝากเงินหรือการกู้เงินต้องมีปัจจัยเรื่องระยะเวลา ดอกเบี้ย หรือแม้กระทั่วอัตราเงินเฟ้อเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้เงินมีมูลค่า 1 บาท มีมูลค่าแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา การจะประเมินเงินในอนาคต และตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม จึงไม่อาจทำได้ด้วยการดูจากตัวเลขที่ปรากฏ แต่ต้องคำนวณถึงมูลค่าที่แท้จริงของเงินด้วย

ดอกเบี้ยทบต้น

ดอกเบี้ยทบต้น (compound interest) คือ การคำนวณดอกเบี้ยที่ได้รับ โดยการนำเอาเงินต้นมารวมเข้ากันกับดอกเบี้ยจากงวดก่อนหน้า ทำให้ดอกเบี้ยในงวดถัดไปเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามจำนวนเงินต้นที่สูงขึ้นมานั่นเอง

มูลค่าของเงินในอนาคต

เมื่อเข้าใจในเรื่องของผลกระทบของดอกเบี้ยทบต้นแล้ว สิ่งที่เริ่มจะบอกได้ก็คือมูลค่าของเงินในอนาคตของเงินก้อนหนึ่ง ๆ ภายใต้ช่วงเวลาและอัตราผลตอบแทนที่กำหนด ตัวอย่างเช่น เมื่อเรานำเงิน 100 บาทไปฝากธนาคารที่อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี เมื่อสิ้นปีที่ 1 ท่านจะได้ดอกเบี้ยเพิ่มมา 2 บาท รวมมีเงินในตอนนี้เป็น 102 บาท จะเห็นว่าเงิน 102 บาทนี้เอง มันคือมูลค่าในอนาคตของเงิน 100 บาท ณ เวลาที่สิ้นปีที่ 1 หากว่าเราฝากต่อไปจนครบ 3 ปี ก็จะได้รับเงิน 133.1 บาท ซึ่งนี่ก็คือมูลค่าในอนาคตของเงินตั้งต้นแค่ 100 บาท ณ เวลาที่สิ้นปีที่ 3 นั่นเอง

ประโยชน์ของการออมเงินด้วยดอกเบี้ยทบต้น

การออมเงินแบบดอกเบี้ยทบต้นนั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากชาวไทย เพราะมันสามารถสร้างทุนและเพิ่มรายได้ในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวิธีการออมเงินแบบทบต้นเป็นการฝากเงินไปยังบัญชีธนาคาร หรือสถาบันทางการเงินอื่น ๆ โดยมีเงื่อนไขว่า จะต้องเก็บเงินไว้ในบัญชีนั้น ๆ เป็นเวลานานเท่าใด และจะได้รับดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินกำหนด โดยดอกเบี้ยทบต้นนั้น จะคำนวณตามยอดเงินที่คงเหลือในบัญชี ยิ่งยอดเงินมากขึ้นเท่าไหร่ ผู้ฝากก็จะได้รับดอกเบี้ยมากขึ้นเท่านั้นนั่นเอง

  การออมเงินด้วยการทบต้นมีความสำคัญอย่างมากในการวางแผนการเงินของบุคคล เนื่องจากเป็นวิธีการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าการลงทุนในตลาดทุน ซึ่งสามารถให้ผลตอบแทนที่มั่นคง และยังสูงกว่าการออมเงินด้วยการฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ปกติ อีกทั้งยังมีประโยชน์ในเรื่องของทางด้านภาษีอีกด้วย เนื่องจากอาจได้รับยกเว้นภาษีหรือการยกเว้นภาษีบางส่วนสำหรับดอกเบี้ยทบต้น อย่างไรก็ตามการออมเงินด้วยการทบต้น คุณควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินกำหนดไว้ด้วย

ข้อดีของดอกเบี้ยทบต้น มีอยู่ 4 ประการด้วยกัน คือ

  1. ให้ผลตอบแทนที่มั่นคงและเสถียร
  2. เป็นแหล่งรายได้แบบ Passive Income ที่สามารถได้รับอย่างต่อเนื่อง
  3. มีประโยชน์ที่สูงกว่าการเก็บเงินไว้โดยไม่นำไปลงทุนใดๆ
  4. เป็นโอกาสที่ดีในการเพิ่มผลตอบแทนอย่างเชื่อถือได้

ข้อเสียของดอกเบี้ยทบต้น มีอยู่ 4 ประการด้วยกัน คือ

  1. ต้องใช้เวลาและรอนานกว่าจะเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน
  2. ต้องมีเงินทุนในปริมาณที่เพียงพอ เพื่อลงทุนในระบบดอกเบี้ยทบต้น
  3. ต้องมีวินัยสูงในการเก็บเงินและลงทุน เพื่อให้ระบบดอกเบี้ยทบต้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. สภาพคล่องต่ำ เนื่องจากไม่สามารถถอนเงินต้นและผลตอบแทนออกมาใช้ได้ในระหว่างระยะเวลาที่กำหนด

ดอกเบี้ยทบต้นดีอย่างไรต่อการลงทุน

ในเรื่องของการลงทุน ดอกเบี้ยทบต้นเป็นการลงทุนรูปแบบหนึ่ง ซึ่งนักลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยจากเงินลงทุนต้นและดอกเบี้ยนั้น จะนำไปทบกับเงินลงทุนต้น เพื่อที่จะได้รับเงินทุนก้อนใหญ่ในอนาคต

ระบบการคิดแบบดอกเบี้ยทบต้นนั้น เป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญ ซึ่งสามารถนำมาลงทุนได้ในหลายประเภทของทรัพย์สิน เช่น หุ้น พันธบัตรรัฐบาล เงินฝากธนาคาร หรือกองทุนรวม โดยทุกครั้งที่ได้รับดอกเบี้ยจากการลงทุน ดอกเบี้ยเหล่านั้นจะถูกนำมาเพิ่มจำนวนให้เงินต้น เพื่อที่จะสามารถสร้างการเติบโตอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นได้

ระบบดอกเบี้ยทบต้นเป็นประโยชน์สำหรับนักลงทุนที่ต้องการสะสมทรัพย์สิน โดยสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าของทรัพย์สินในระยะยาวได้ นอกจากนี้การลงทุนในระบบดอกเบี้ยทบต้นยังช่วยให้มีเงินสำรองฉุกเฉิน เพื่อนำไปใช้ในการบรรลุเป้าหมายทางการเงินในอนาคตได้อีกด้วย

ความแตกต่างของดอกเบี้ยทบต้นกับไม่ทบต้น

ในเรื่องนี้คงมีหลายคนที่เกิดความสงสัยว่า ระหว่างดอกเบี้ยทบต้นกับดอกเบี้ยไม่ทบต้น มันมีความแตกต่างกันอย่างไร โดยในหัวข้อนี้จะแจ้งให้ทราบโดยทั่วกันว่า

ดอกเบี้ยทบต้นนั้นคือ การเพิ่มกระแสเงินสดที่เป็นดอกเบี้ยลงในยอดเงินต้น การทบต้นแบบนี้จะช่วยให้ยอดจำนวนเงิน หรือเงินต้นเพิ่มมากขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยที่กำหนด ซึ่งนั่นหมายความว่า ทุกครั้งที่มีการชำระเงินเข้ามาจำนวนเงินที่เป็นดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น ก็จะถูกคำนวณตามอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับการกำหนดไว้ จะคิดรวมกันทั้งเงินต้นกับดอกเบี้ยในงวดก่อนรวมกัน ซึ่งจะส่งผลให้ยอดเงินหรือเงินต้นเพิ่มขึ้น ตามที่กำหนดไว้ในแผนการผ่อนชำระหนี้ การทบต้นสามารถช่วยให้ผู้กู้ สามารถผ่อนชำระหนี้ในระยะเวลาที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มความสะดวกสบายในการจัดการเงิน และการควบคุมการเงินส่วนบุคคลได้ดียิ่งขึ้น

ในขณะที่ดอกเบี้ยไม่ทบต้น คือการไม่เพิ่มยอดดอกเบี้ยลงในเงินต้น หรือยอดเงินที่ถูกกำหนดไว้เริ่มต้นของสินเชื่อหรือการกู้ยืม นั่นหมายความว่าในระหว่างช่วงเวลาที่กำหนด จำนวนเงินดอกเบี้ยที่คิดจากอัตราดอกเบี้ย จะไม่ถูกเพิ่มเข้าสู่ยอดเงินหรือเงินต้นที่กำหนดไว้ โดยผู้กู้จะต้องชำระเงินต้นเท่านั้นในแต่ละรอบการชำระหนี้ การไม่ทบต้นจะทำให้ยอดหนี้คงเดิมตลอดระยะเวลาการผ่อนชำระ และไม่มีการเพิ่มขึ้นเนื่องจากดอกเบี้ย

วิธีการคิดดอกเบี้ยทบต้น

วิธีการคิดดอกเบี้ยทบต้นจะใช้การรวมดอกเบี้ยที่ได้รับในงวดนั้นกับเงินต้นเดิม แล้วนำมาใช้เป็นเงินต้นใหม่เพื่อใช้คำนวณดอกเบี้ยสำหรับงวดถัดไป โดยสูตรคำนวณการคิดดอกเบี้ยทบต้นจะเป็นดังนี้

เงินต้นรวมดอกเบี้ยในงวดสุดท้าย = เงินต้น

เงินต้น x (1 + อัตราดอกเบี้ย %) ยกกำลังจำนวนงวด

เมื่อรู้ความสำคัญของการคิดดอกเบี้ยทบต้นแล้ว จะต้องทำการวางแผนการเงินให้ดีเพื่อให้มีเงินเหลือ และสามารถนำเงินที่เหลือนั้นไปลงทุนต่อได้ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทน และทำให้เงินเติบโตมากยิ่งขึ้น เพื่อรักษาความมั่นคงในอนาคต

วิธีการคิดดอกเบี้ยทบต้น

หากสมมติว่าธนาคารคิดดอกเบี้ยปีละ 5% และได้ทำการฝากเงิน 1,000 บาท จนครบรอบระยะเวลา 1 ปี ก็จะได้รับดอกเบี้ย 50 บาท และหากไม่มีการถอนดอกเบี้ยออกมาใช้ เงินที่เป็นดอกเบี้ย 50 บาทที่ได้รับมานั้น ก็จะรวมกับเงินต้นแล้วกลายเป็น 1,050 บาท เพื่อนำไปคำนวณดอกเบี้ยในปีถัดไป เมื่อทำการฝากต่อไปจนครบระยะเวลา 2 ปี ก็จะได้รับดอกเบี้ยทั้งหมด 52.50 บาท โดยใช้การคำนวณจากอัตราดอกเบี้ย 5% ของเงิน 1,050 บาท

  จากตัวอย่างดังกล่าวนี้ จะสามารถเห็นได้ว่า ในปีที่ 2 ดอกเบี้ยที่ได้รับจะเพิ่มขึ้นจากปีแรกเป็น 2.50 บาท ดังนั้นถ้าหากว่าทำการฝากเงินหลาย ๆ ปี หรือฝากเงินในจำนวนที่มากขึ้น เงินออมก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง เช่น หากฝากเงิน 100,000 บาท 18 เดือน และธนาคารคิดดอกเบี้ยทุก ๆ 6 เดือน ในอัตรา 2% ต่อปี และมีการคิดดอกเบี้ยในทุก ๆ 6 เดือน ดังนั้น 1 ปี จะมี 2 งวด อัตราดอกเบี้ยต่องวดจึงเท่ากับ 2 ÷ 2 = 1% ต่องวด หลังจากนั้นจะคำนวณด้วยสูตรดังต่อไปนี้ คือ

เงินต้น 100,000 x (1 + 1%) ยกกำลัง 3 = 103,030.10

เมื่อทำการคำนวณออกมาแล้วก็จะได้ผลลัพธ์ว่า เมื่อระยะเวลาครบกำหนดจำนวน 18 เดือนแล้ว จะทำให้มีเงินโดยรวมทั้งหมดเป็น 103,030.10 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้ยังไม่ได้รวมกรณีที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 15% ในท้ายที่สุด

ดังนั้นควรตระหนักไว้ด้วยว่า อัตราดอกเบี้ยและระยะเวลา เป็นสิ่งที่ทำให้ดอกเบี้ยทบต้นยิ่งเติบโตยิ่งขึ้น แค่ฝากเงินไว้ในบัญชีและไม่ถอนออกมาใช้ เงินจำนวนนั้นก็จะยิ่งเพิ่มพูนขึ้น อีกทั้งหลักการดอกเบี้ยทบต้นนี้ ยังเป็นความรู้พื้นฐานที่สามารถช่วยให้เงินงอกเงยและมั่นคงอีกด้วย

ดังนั้นจะสรุปได้ว่า สำหรับการตัดสินใจทางการเงินต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการสะสมเงินเพื่อทำตามเป้าหมายที่ต้องการให้สำเร็จนั้น จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ในเรื่องของเงินต้นที่ใช้เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ย และดอกเบี้ยซึ่งเป็นผลตอบแทนที่ได้รับหรือต้องจ่าย จากการใช้เงินทุน ที่สำคัญเพื่อความมั่งคั่งต้องรู้ในเรื่องของดอกเบี้ยทบต้นด้วย เพราะมันมีพลังเป็นอย่างมากที่จะทำให้สร้างความมั่งคั่งแก่เราได้ ดอกเบี้ยทบต้นคืออัตราดอกเบี้ยที่คิดดอกเบี้ยจากเงินต้นและดอกเบี้ยที่ได้รับรวมกัน โดยดอกเบี้ยในแต่ละงวดนั้นจะถูกนำไปคิดรวมเป็นเงินต้นในงวดถัดไป ซึ่งการคิดทบต้นเป็นกระบวนการหามูลค่าในอนาคตที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนในปัจจุบันนั่นเอง.