ในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อทำการวางแผนทางการเงิน ผู้วางแผนทางการเงินจะต้องนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ในเบื้องต้น เพื่อทำให้เห็นถึงภาพรวมทางการเงิน รวมทั้งการรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนทางการเงิน หลังจากทำการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นแล้ว ผู้วางแผนทางการเงินจะต้องนำข้อมูลเบื้องต้นดังกล่าว มาจัดทำงบทางการเงินทั้งในส่วนของงบดุลส่วนบุคคล และงบกระแสเงินสดส่วนบุคคล เพื่อพิจารณาสถานการณ์ทางการเงิน โดยทำการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินส่วนบุคคล ซึ่งจะแบ่งการวิเคราะห์เป็น 3 ด้านด้วยกัน คือ 1. การวิเคราะห์อัตราส่วนสภาพคล่อง 2. การวิเคราะห์อัตราส่วนหนี้สิน 3. การวิเคราะห์อัตราส่วนการออมและการลงทุน อย่างไรก็ตามการวางแผนทางการเงินไม่ได้จำกัดเฉพาะเรื่องการเงินเท่านั้น ยังเกี่ยวข้องกับเรื่องภาษี ประกันชีวิต การทำแผนทางการเงิน จึงต้องเกี่ยวข้องกับผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ ดังนั้น หน้าที่อีกอย่างหนึ่งของผู้วางแผนทางการเงินก็คือ การประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เพื่อให้แผนทางการเงินที่ได้เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ตามลักษณะและประเภทของข้อมูลคือ การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลในแต่ละส่วนนั้น มีวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นที่ครอบคลุมทั้งในส่วนของข้อมูลประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงาน การจัดการความเสี่ยง และการประกันการลงทุน และการออมเพื่อวัยเกษียณ ซึ่งวัตถุประสงค์สำคัญของการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบดูว่า มีปัญหาด้านใดในปัจจุบัน และมีโอกาสที่จะประสบกับปัญหาด้านใดในอนาคต โดยแนวทางในการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบดังกล่าว จะใช้วิธีการพิจารณาดูว่า มีแนวคิด มีการรับรู้ […]
Category Archives: การวางแผนการเงินแบบองค์รวม
ก่อนที่จะวางแผนทางการเงิน และนำแผนทางการเงินที่วางไว้ไปปฏิบัติให้กับลูกค้าได้นั้น นักวางแผนทางการเงินจะต้องทำการกำหนดเป้าหมายที่ลูกค้าต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับเปลี่ยนเป้าหมายที่ลูกค้าต้องการให้เป็นเป้าหมายทางการเงิน และถ้าหากเป้าหมายที่ลูกค้าต้องการนั้นมีหลายหลายเป้าหมายด้วยกัน นักวางแผนทางการเงินก็จะต้องทำการเรียงลำดับความสำคัญของเป้าหมายเหล่านั้นก่อน นักวางแผนทางการเงินจะต้องทำการกำหนดเป้าหมาย และเรียงลำดับความสำคัญของเป้าหมายต่าง ๆ ร่วมกับลูกค้า อย่างไรก็ตาม การกำหนดเป้าหมายทางการเงิน เพื่อที่จะนำไปสู่การปฏิบัติตามแผนทางการเงินที่วางไว้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่นักวางแผนทางการเงิน จะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลความต้องการ ความจำเป็น รวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ ของลูกค้า และสมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน ทั้งนี้ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ลูกค้าเปิดเผยให้กับนักวางแผนทางการเงิน ซึ่งก็ต้องกลับไปที่จุดเริ่มต้นในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เพื่อให้เกิดความเชื่อถือและไว้วางใจ ในการเปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วนและถูกต้อง 1. การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณ ก่อนที่นักวางแผนทางการเงินจะทำการวิเคราะห์สถานะทางการเงินของลูกค้า เพื่อทำการวางแผนทางการเงิน ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติตามแผนทางการเงินที่วางไว้นั้น นักวางแผนทางการเงินและลูกค้า จะต้องร่วมมือกันในการกำหนดความต้องการ และความจำเป็นของลูกค้า เพื่อนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายที่ต้องการ และปรับเปลี่ยนเป้าหมายดังกล่าวให้อยู่ในรูปของเป้าหมายทางการเงินที่เหมาะสม แล้วจึงทำการเรียงลำดับความสำคัญของเป้าหมายทางการเงินดังกล่าว การที่นักวางแผนทางการเงินจะสามารถ กำหนดเป้าหมายทางการเงินได้ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น นักวางแผนทางการเงินจะต้องทำการสำรวจทัศนคติ ความคาดหวัง และระยะเวลาที่ต้องการบรรลุเป้าหมายของลูกค้า ทั้งนี้หมายความว่านักวางแผนทางการเงิน คำนึงถึงผลประโยชน์ที่ลูกค้าต้องการได้รับจากการวางแผนทางการเงินเป็นอันดับแรก แล้วหาแนวทางที่จะทำให้ลูกค้าสามารถมีโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ต้องการ นักวางแผนทางการเงินจำเป็นต้องชี้แจงให้ลูกค้า ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลที่ต้องเก็บรวบรวมว่า ถ้าหากมีการเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง จะส่งผลทำให้แผนทางการเงินที่จะทำขึ้นอาจไม่สามารถนำไปปฏิบัติให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการได้ ถ้านักวางแผนทางการเงินไม่สามารถที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับลูกค้าได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง ก็อาจส่งผลทำให้ไม่สามารถจะทำแผนทางการเงินให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดได้ นักวางแผนทางการเงินก็อาจจะต้องทำการระบุถึงข้อจำกัดในการเก็บรวบรวมข้อมูล และระบุถึงผลกระทบต่อแผนทางการเงินที่จะทำขึ้นไว้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ในการกำหนดขอบเขตของความสัมพันธ์ ระหว่างนักวางแผนทางการเงินและลูกค้า […]