อัตราคิดลด (discount rate) คือ อัตราที่ใช้ในการแปลงมูลค่าในอนาคต ให้กลับมาเป็นมูลค่าในปัจจุบัน ซึ่งช่วยให้สามารถเปรียบเทียบมูลค่าสองมูลค่า ที่อยู่ในช่วงเวลาต่างกันได้ง่ายขึ้น โดยอัตราคิดลดยังสามารถสะท้อนพฤติกรรมความอดทนของบุคคลได้อีกด้วย ซึ่งมีนัยยะต่อการเปรียบเทียบทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนต่าง ๆ ในเวลาที่แตกต่างกันด้วย
ตัวอย่างเช่น ในการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์ (cost-benefit analysis) หรือการประเมินความคุ้มค่าของนโยบายสาธารณะ บทความนี้แสดงให้เห็นว่า อัตราคิดลดส่วนบุคคลนั้น จะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดอย่างมีนัยสำคัญ และยังเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วย ตามมาอ่านไปด้วยกันได้เลยครับ
อัตราคิดลดคืออะไร
หากว่าจำเป็นจะต้องตัดสินใจอะไรสักอย่างหนึ่ง ที่มีผลกระทบกับชีวิตไปในระยะยาว เช่น การตัดสินใจออมเงินเพื่ออนาคต การตัดสินใจบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ หรือการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น จะต้องเปรียบเทียบระหว่างประโยชน์ หรือความสุขที่จะได้รับในอนาคต และประโยชน์หรือความสุขที่พึงจะได้ในปัจจุบัน โดยจะเลือกทางเลือกที่ให้ประโยชน์สูงกว่า ฉะนั้น การเลือกที่จะออมเงินเพื่อผลตอบแทนในอนาคตมีความจำเป็นที่สูงกว่าประโยชน์จากการบริโภคในปัจจุบัน หรือเลือกการจะรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพื่อการมีสุขภาพแข็งแรงในอนาคต ซึ่งมีมูลค่ามากกว่าการบริโภคอาหารหวานหรือไขมันสูงที่มีรสชาติดี
อัตราคิดลด (discount rate) คืออัตราที่ใช้ในการแปลงมูลค่าในอนาคตมาเป็นมูลค่าในปัจจุบัน ซึ่งสามารถช่วยให้สามารถเปรียบเทียบมูลค่าของสองมูลค่า ที่อยู่ในช่วงเวลาต่างกันได้ง่ายขึ้น จะเห็นว่าอัตราคิดลดสามารถสะท้อนพฤติกรรมความอดทนของบุคคลได้ หากคนใดมีอัตราคิดลดที่สูง ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความอดทนที่ต่ำมักจะเลือกการบริโภคในปัจจุบัน และยิ่งจำเป็นต้องใช้สิ่งจูงใจในอนาคต ซึ่งมีมูลค่าสูงขึ้นเพื่อจูงใจให้เลือกชะลอการบริโภคในปัจจุบัน เพื่อรับผลประโยชน์ที่จะได้ในอนาคต
ในทางตรงกันข้าม คนที่มีอัตราคิดลดยิ่งต่ำก็ยิ่งสะท้อนถึงความอดทนที่สูง คนนี้สามารถชะลอการบริโภคในปัจจุบัน แล้วเลือกรับประโยชน์ในอนาคต ด้วยสิ่งจูงใจในอนาคตที่มีมูลค่าต่ำกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราคิดลดมีอัตราคิดลดสูง มีโอกาสที่จะมีพฤติกรรมที่ไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ เช่น มีดัชนีมวลกายสูง ไม่ออกกำลังกาย สูบบุหรี่ สูงกว่าคนที่มีอัตราคิดลดต่ำ
อัตราคิดลดที่นิยมใช้และข้อขัดแย้งในทางพฤติกรรม
ทั้งนี้กรอบความคิดเกี่ยวกับอัตราคิดลด เป็นส่วนหนึ่งของความพึงพอใจ เมื่อมีห้วงเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง ประโยชน์ของอัตราคิดลดส่วนใหญ่ จะใช้ประกอบการตัดสินใจในบริบทด้านการเงิน เช่น การเลือกระหว่างการใช้เงิน 10,000 บาท เพื่อบริโภคในปัจจุบัน หรือนำเงินจำนวนดังกล่าวไปลงทุนเพื่อรับเงินต้นพร้อมผลตอบแทนใน 1 ปีข้างหน้า
คำถามที่สำคัญ คือ อัตราผลตอบแทนเท่าไร จึงจะทำให้ตัดสินใจที่จะลงทุน ทั้งนี้สำหรับคนที่ไม่สามารถรับความเสี่ยงได้เลย เขาสามารถนำเงิน 10,000 บาทนี้ไปฝากธนาคารหรือซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อรับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเมื่อครบ 1 ปี ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากหรือพันธบัตรรัฐบาลมักถูกใช้เป็นอัตราคิดลด เพื่อคำนวณมูลค่าปัจจุบันของทางเลือกต่าง ๆ ที่ให้ผลตอบแทนในระยะเวลาที่แตกต่างกัน
อย่างไรก็ตาม การใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก หรือพันธบัตรรัฐบาลเป็นอัตราคิดลดนั้น มีข้อด้อยที่สำคัญอยู่อย่างน้อยสองประการด้วยกัน คือ
ประการแรก การที่บุคคลต่าง ๆ ล้วนอยู่ภายใต้สมมติฐานว่า การตัดสินใจเกิดจากการคิดอย่างมีเหตุมีผล กล่าวคือสามารถคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคต เพื่อคิดวางแผนได้อย่างสมบูรณ์ และปฏิบัติตามแผนนั้นได้อย่างเคร่งครัด
ประการที่สอง การใช้อัตราคิดลดเดียวกันกับทุกคนนั้นหมายความว่า บุคคลทุกคนมีอัตราคิดลดที่เท่ากัน ดังนั้น จึงเข้ามามีบทบาทในการวัดค่าอัตราคิดลดที่แท้จริงในแต่ละบุคคล เพื่อให้การประเมินนโยบาย หรือการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์ มีความถูกต้องยิ่งขึ้น
การวัดอัตราคิดลด
โดยลักษณะของสภาพเศรษฐกิจและสังคม ที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล หรือกลุ่มบุคคลนั้น จะส่งผลชัดเจนต่ออัตราการคิดลดให้มีระดับที่แตกต่างกันไป ผู้ที่มีรายได้สูงมักมีความอดทนมากกว่าคนที่ยากจน ซึ่งเป็นการสนับสนุนคำพูดอย่างไม่เป็นทางการที่มักจะได้ยินกันคือ การที่คนรวยมักจะมองการณ์ไกล ส่วนคนจนมองใกล้ ซึ่งนี่ก็คือการตั้งข้อสมมติฐานที่ว่า คนที่มีรายได้สูงกว่ามักมีความอดทนมากกว่า นั่นคือการที่มีอัตราคิดลดที่ต่ำกว่า และคนที่มีรายได้น้อยมักมีความอดทนน้อยกว่า นั่นคือการที่มีอัตราคิดลดที่สูงกว่านั่นเอง
อิทธิพลของตัวแปรด้านคุณลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีต่ออัตราคิดลดส่วนบุคคลที่น่าสนใจอื่น ๆ เช่น เพศหญิงจะมีอัตราคิดลดส่วนบุคคลที่ต่ำกว่าเพศชาย ระดับการศึกษาเพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลให้อัตราคิดลดส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจจะเกิดจากความรู้ทางด้านการเงินและการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินเช่นกัน จำนวนบุตรที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้อัตราคิดลดส่วนบุคคลลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อมีการออมซึ่งสะท้อนถึงภาวะความอดทนในการชะลอการบริโภคในปัจจุบันไปสู่อนาคต อัตราคิดลดระดับบุคคลก็จะต่ำกว่าคนที่ไม่มีเงินออมอย่างมีนัยสำคัญ
การคำนวณหามูลค่าปัจจุบัน
ถ้าหากเริ่มต้นทำการฝากเงินกับธนาคารในวันนี้ 10,000 บาท และฝากเงินอีก 20,000 บาท และ 30,000 บาท อีก 1 ปี และ 2 ปีข้างหน้าตามลำดับ อยากทราบว่ากระแสเงินสดดังกล่าวจะมีมูลค่าปัจจุบันเท่าใด ถ้าหากการฝากเงินดังกล่าวเป็นการฝากประจำ 1 ปี ซึ่งได้รับอัตราดอกเบี้ย 4 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ทบต้นปีละครั้ง ในการคำนวณหามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสด ซึ่งมีหลายจำนวน ควรจะเริ่มต้นจากการนำข้อมูลทั้งหมดแสดงบนแกนเวลา ดังนี้
+10,000 I = 4% +10,000 +10,000 บาท
0 1 2 ณ สิ้นปี
ในการคำนวณหามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดดังกล่าว จะต้องทำการแปลงเงินแต่ละจำนวนในเวลาที่ต่าง ๆ กันให้เป็นมูลค่าปัจจุบันก่อน แล้วจึงนำมูลค่าปัจจุบันทั้งหมดมารวมกัน เนื่องจากเงินจำนวนแรกที่ฝากธนาคาร 10,000 บาทนั้น เป็นมูลค่าปัจจุบันอยู่แล้วจึงไม่ต้องทำการแปลงมูลค่าเงินตามเวลาใด ๆ ส่วนเงิน 20,000 บาทที่ฝากอีก 1 ปีข้างหน้านั้น จะมีมูลค่าปัจจุบันเท่ากับ 19,240 (=20,000×0.962) บาท และเงินจำนวนสุดท้าย 30,000 บาทที่ฝากอีก 2 ปีข้างหน้านั้น จะมีมูลค่าปัจจุบันเท่ากับ 27,750 (=30,000×0.962) บาท
มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดดังกล่าวจะเท่ากับ ผลรวมของมูลค่าปัจจุบันของเงินแต่ละจำนวนของกระแสเงินสดดังกล่าว ซึ่งจะมีมูลค่าเท่ากับ 56,990 (=10,000 + 19,240 + 27,750) บาท สรุปออกมาตามแผนภาพต่อไปนี้
+10,000 I = 4% +10,000 +10,000 บาท
0 1 2 ณ สิ้นปี
10,000
คิดลดเงินจำนวน 20,000 บาท
19,240
เป็นระยะเวลา 1 ปี ด้วยอัตราคิดลด 4%
คิดลดเงินจำนวน 30,000 บาท
27,750
เป็นระยะเวลา 2 ปี ด้วยอัตราคิดลด 4%
56,990 บาท
สรุปได้ว่า เรื่องการคิดลดเพื่อหามูลค่าปัจจุบัน อัตราคิดลดหรืออัตราส่วนลด (discount rate) นั้น คืออัตราการลดลงของค่าของเงินในอนาคต เมื่อคำนวณให้เป็นมูลค่าของเงินในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นส่วนกลับกับอัตราดอกเบี้ยทบต้น ในบางครั้งอาจจะเรียกว่าอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ ค่าของทุน หรือต้นทุนค่าเสียโอกาสก็ได้ ส่วนเรื่องมูลค่าปัจจุบัน คือ มูลค่าของกระแสเงินสดทั้งหมดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อเปรียบเทียบให้เป็นมูลค่าเมื่อเริ่มต้นการลงทุนหรือการกู้ยืม การคิดลดคือกระบวนการหามูลค่าที่ลดลงของจำนวนเงินหรือกระแสเงินสดที่กำหนด หรือคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อเปรียบเทียบให้เป็นมูลค่าในปัจจุบัน โดยใช้แกนของเวลาในการระบุถึงจำนวนเงิน และระยะเวลาที่เกิดขึ้นของจำนวนเงินดังกล่าว.